=กระวานกระจายเลือด=
แพทย์แผนไทยใช้กระวานเป็นยาขับลม ช่วยกระจายเลือดและขับพิษออกจากกระแสเลือด ซึ่งสามารถนำทุกส่วนของกระวานมาต้มรวมกันเพราะแต่ละส่วนจะมีข้อดีข้อด้อยแตกต่างกันไป การนำทุกส่วนมาต้มจะช่วยเสริมข้อด้อยข้อดีในส่วนที่ขาดให้แก่กัน
ดื่มคล้ายๆ กับชาทั่วไป หากดื่มเป็นประจำจะช่วยบำรุงไตทางอ้อมเพราะสามารถลดปริมาณของเสียในเลือดทำให้ไตไม่ต้องทำงานหนักมาก ถ้าไม่มีผลแห้ง สามารถใช้แก่นของต้นหรือใบแก่ตากแห้งแทนผลแห้งได้ แต่ตัวยาจะเข้มข้นมาก ควรดื่มวันเว้นวันหรือน้อยกว่านั้น
|
=กระเจี๊ยบแดง=
ส่วนที่นำมาใช้เป็นสมุนไพรฟอกเลือดบำรุงไตให้เน้นไปที่ดอกสีแดงสด ดอกกระเจี๊ยบแดงหาซื้อไม่ยาก ราคาไม่แพง ถ้าใช้เป็นดอกสดได้ให้ใช้ดอกสกตามตลาดทั่วไปมีขาย
กระเจี๊ยบแดงมีสรรพคุณทางสมุนไพรมาก นำไปแห้งชงกับน้ำร้อนดื่มแก้กระหาย ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย ขับปัสสาวะ บำรุงเลือด แก้โรคนิ่วในไต แก้นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู้ทวารหนัก
เวลาดื่มก็ไม่ควรกรองกากกระเจี๊ยบทิ้ง ทำให้เย็นเสียก่อนแล้วดื่มทั้งที่มีกากอยู่ คุณจะได้กากใยอาหารเพิ่มมากขึ้น
=งา=
งาขาวบดต้มกับน้ำ ดื่มเป็นยาบำรุงร่างกาย วิธีง่ายๆใช้งาขาวหนึ่งหยิบมือ บดในครกบดยาจนแตกละเอียด ต้มกับน้ำประมาณ 300 ซี.ซี. หรือ ละลายกับน้ำร้อนประมาณ 250 ซี.ซี. ดื่มบำรุงร่างกาย ช่วยขับเลือดลม ขยายหลอดเลือด ทำให้เลือดลมเดินทางสะดวก ช่วยลดปริมาณไขมันในเส้นเลือด ลดการดูดซึมน้ำตาล ขับไอเย็นออกจากร่างกาย ทำให้อวัยวะต่างๆทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ผู้ป่วยโรคไตควรดื่มบ่อยงาขาวบ่อยๆ จะช่วยลดภาระการทำงานของไต เพราะช่วยขับเลือดเสีย ตลอดจนขับพิษที่อยู่ในเลือด เป็นการทำความสะอาดเลือดเบื้องต้น ทำให้ไตทำงานน้อยลง ส่งผลให้ไตของผู้ป่วยชะลอการเสื่อมได้ยิ่งดี
=ใบบัวบก=
ใบบัวบกนับว่ามีประโยชน์โดยตรงสำหรับผู้ที่เป็นโรคไต เพราะมีสารสำคัญหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับระบบโลหิตโดยตรง อาทิเช่น ไตรเตอพีนอยด์(อะซิเอติโคไซ) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างคอลลาเจน เพิ่มความแข็งแรงของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความหยืดหยุ่นเพื่มมากขึ้น ช่วยลดความดันโลหิตสูง และป้องกันเส้นเลือดฝอยแตกได้เป็นอย่างดี
น้ำใบบัวบกจึงมีสรรพคุณในการช่วยชะลอการเสื่อมของไต ในผู้ป่วยโรคไตได้เป็นอย่างดี ผู้ที่ดื่มน้ำใบบัวบกนอกจากจะไม่เครียดแล้วยังช่วยขยายหลอดเลือดทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในเส้นเลือดฝอยเพิ่มมากขึ้น ร่างกายจะสามารถจับออกซิเจนอิสระได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้เลือดสะอาด เป็นการฟอกเลือดไปในตัว
=เห็ดหลินจือ=
เห็ดหลินจือมีคุณค่าสูงมากในทางสมุนไพร ทั้งในศาสตร์ของแพทย์ แผนจีนและแผนไทย ซึ่งคัมภีร์โบราณ “เซนหลุง” (Shen Lung's Medica) และ คัมภีร์ “เสินหนงเปินเฉา” ที่เป็นตำราเก่าแก่ที่สุดของจีนเขียนไว้ว่าเห็ดหลินจือเป็น “เทพเจ้าแห่งชีวิต” (Spiritual essence) และยกย่องให้เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่ดีที่สุด
เห็ดหลินจือเป็นที่คาดหวังกันไว้ว่าจะสามารถบรรเทาหรือรักษาโรคไตเรื้อรังได้อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำสรรพคุณของเห็ดหลินจือมาทดลองรักษาผู้ป่วยโรคไต ปรากฏว่าช่วยลดปริมาณไข่ขาวในปัสสาวะได้ และช่วยชะลออาการไตเสื่อมได้ดี
ปัญหาของผู้ป่วยโรคไตคือจะมีสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบอยู่ในเลือดสูงในขณะที่สารต้านการอักเสบจะลดต่ำลง จากการศึกษาพบว่าเห็ดหลินจือ ช่วยลดการอักเสบของเยื้อเยื่อในร่างกายได้
ในตำราแพทย์แผนไทยใช้เห็ดหลินจือเป็นยาขับปัสสาวะกันมานานมากแล้ว จะใช้ต้มกับน้ำทำเป็นยาหม้อดื่มเพื่อใช้ล้างพิษที่ตกค้างในไต ขับปัสสาวะ และ ใช้เป็นยาบำรุงไตขนานเอก
=ขิง=
ขิงเป็นสมุนไพรที่ใช้กันแพร่หลาย รู้จักกันดีถึงสรรพคุณในการกำจัดพิษไข้ และ ดื่มเพื่อบำรุงกษัย น้ำขิงร้อนๆใช้เป็นยากระจายเลือด ขับเลือดเสียได้อย่างดี วิธีใช้ไม่วุ่นวาย
ขิงที่มีสรรพคุณทางยามากต้องเป็นขิงที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ยิ่งขิงมีกลิ่นฉุนและรสเผ็ดร้อนมากเท่าไร ยิ่งแสดงว่าเป็นขิงที่แก่จัด ตัวยา ตลอดจนสรรพคุณทางด้านสมุนไพรจะมีเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ส่วนที่แนะนำให้มีติดเอาไว้ในบ้านเรือนคือส่วนที่เป็น “เหง้า”
สำหรับผู้ที่เป็นโรคไตดื่มบ่อยๆจะดี ดื่มเพื่อบำรุงไต เพราะช่วยลดการอักเสบภายใน ตลอดจนเป็นยาขับปัสสาวะอ่อนๆ ช่วยขับปัสสาวะที่คั่งค้างอยู่ภายใน สลายนิ่วและสิ่งอุดตัน ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด ตลอดจนช่วยกำจัดพิษที่ตกค้างก็ได้เช่นกัน
=เก๋ากี้=
เก๋ากี้เป็นเครื่องยาจีนที่สำคัญ ถูกใช้เข้าตัวยาหลายขนานด้วยกันหลักๆจะเป็นยาขับพิษ ขับเลือด ขับปัสสาวะ และบำรุงอวัยวะภายใน จัดเป็นยาบำรุงชั้นดี รวมไปถึงใช้เป็นยาบำรุงสายตา รักษาโรคตาฟาง โรคต้อชนิดต่างๆเพิ่มความสามารถในการมองเห็น
ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงดื่มบ่อยๆจะช่วยลดความดันโลหิต ทำให้หัวใจแข็งแรง สำหรับผู้ป่วยโรคไต ชาเก๋ากี้จะช่วยลดภาระให้แก่ไตของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการลดไขมันในกระแสเลือด ช่วยดูดซึมน้ำตาล ช่วยขับปัสสาวะ ชะลอการเสื่อมของไต
ที่มา: http://www.manager.co.th/GoodHealth/ViewNews.aspx?NewsID=9580000074711
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น